บริจาคเลือด

เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell) เป็นเซลล์ตัวอ่อนของโลหิต โดยจะเจริญเติบโตไปเป็นเม็ดโลหิตแดง (ทำหน้าที่นำอ๊อกซิเจนไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย) เม็ดโลหิตขาว(ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค) และเกล็ดโลหิต (เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้โลหิตแข็งตัว) ซึ่งนอกจากจะเจริญเติบโตเป็นเม็ดโลหิตหลายชนิดแล้ว สเต็มเซลล์ยังสามารถให้กำเนิดตัวเองได้ตลอดเวลา ด้วยคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว ทำให้สเต็มเซลล์ไม่มีวันหมดไปจากร่างกาย เราจึงสามารถบริจาคสเต็มเซลล์ให้กับผู้ป่วยโดยที่สเต็มเซลล์ของผู้บริจาค สามารถสร้างขึ้นทดแทนได้อย่างรวดเร็ว

โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการปลูกถ่าย Stem Cell
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (เป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น)
โลหิตจางชนิดไขกระดูกฝ่อ
มะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน / เรื้อรัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งกระดูก Myeloma
มะเร็งเต้านม
มะเร็งรังไข่
มะเร็งปอด

แสดงความจำนงบริจาค
stem cell
การแสดงความจำนงเป็นผู้บริจาค Stem cell
1. คุณสมบัติผู้ที่ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
– อายุ 18-50 ปี
– มีสุขภาพแข็งแรง
– ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคติดต่อร้ายแรง และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง
2. ขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาค Stem Cell
2.1 สำหรับผู้ที่บริจาคโลหิตอยู่แล้ว
– แจ้งความจำนงลงทะเบียนพร้อมกับการบริจาคโลหิตปกติ ตรวจวัดความดัน ความเข้มข้นโลหิต และรับหมายเลขถุงบรรจุโลหิตที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียน (ขั้นตอนหมายเลข 3)
อย่าลืม!!! ย้ำกับเจ้าหน้าที่อีกครั้งว่าขอลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
– กรอกรายละเอียดเพื่อแสดงความยินยอมเป็นผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์
2.2 สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยบริจาคโลหิต
– แจ้งความจำนงลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธก่อนที่จะไปห้องเก็บตัวอย่างโลหิต
3. การเก็บโลหิตตัวอย่าง
– ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะเก็บโลหิตตัวอย่างประมาณ 20 ml. (c.c.) เพื่อนำไปตรวจลักษณะเนื้อเยื่อ (HLA หรือ Tissue typing) และเก็บเป็นฐานข้อมูล (database) ไว้ เมื่ออาสาสมัครฯ มีลักษณะเนื้อเยื่อ HLA เข้ากันได้กับผู้ป่วยแล้ว ทางศูนย์ฯ จะเชิญอาสาสมัครมาบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell) ในภายหลัง ซึ่งโอกาสที่ลักษณะเนื้อเยื่อของผู้ป่วยและอาสาสมัครฯ จะตรงกันมีเพียง 1 ใน 10,000 เท่านั้น

วิธีบริจาค

วิธีการบริจาค Stem Cell
stem cell
1. การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตทางหลอดโลหิตดำ (Peripheral Blood Stem Cell Donation)
วิธีการนี้ใช้เวลาทั้งหมด 6-7 วัน ซึ่งต้องมาต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจาก
ขั้นแรก ฉีดยา G-CSF 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell) ออกจากไขกระดูก (Bone Marrow) มากระจายตัวในกระแสโลหิตให้มากพอ ที่ต้องฉีดยาชนิดนี้ก่อน เพราะว่า โดยปกติในกระแสโลหิตจะมีเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell) อยู่น้อยมาก จึงต้องมีการเตรียมตัวก่อนเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากผู้บริจาค
ขั้นต่อไป จะเข้าสู่กระบวนการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ซึ่งใช้เวลา 2-3 วัน และแต่ละวันใช้เวลา 3 ชั่วโมง โดยแทงเข็มที่หลอดโลหิตดำบริเวณข้อพับแขน (Vein) ให้โลหิตไหลเข้าสู่เครื่อง Automated Blood Cell Separator เพื่อแยกเก็บเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต กระบวนการนี้คล้ายกับวิธีการเก็บเกล็ดโลหิต (platelet) หรือน้ำเหลือง (Plasma) ซึ่งจะเก็บปริมาณเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้ป่วย
2. การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตทางไขกระดูก (Bone Marrow Donation)
เป็น กระบวนการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากโพรงไขกระดูก โดยใช้เข็มพิเศษเจาะเก็บจากบริเวณสะโพกด้านหลัง โดยผู้บริจาคจะได้รับการดมยาสลบ กระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ร่างกายสามารถสร้างเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนได้อย่างรวด เร็ว ผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น และควรพักฟื้นร่างกายประมาณ 5 – 7 วัน

ผู้บริจาคจะได้บริจาควิธีการแบบใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เฉพาะทาง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริจาคด้วย

ทำบุญวันเกิด เป็นสิ่งดี ๆ ที่คุณทำได้โดยเลือกโอกาสดี ๆ เช่นวันเกิดของคุณในการ ทำบุญวันเกิด และเราคิดว่าการ ทำบุญวันเกิด ของคุณจะส่งผลดีต่อคุณและผู้อื่นที่คุณได้ทำความดีด้วย

ทำบุญวันเกิด

ชาวพุทธเราส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องของ “ บุญ ” คิดว่าการทำบุญก็คือ การตักบาตร การถวายทรัพย์ , ปัจจัย การถวายสังฆทาน ฯลฯ เพียงเท่านี้ เป็นต้น
“ บุญ ” หรือ “ ปุญญ ” แปลว่า ชำระ หมายถึงการทำให้หมดจด จากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ โลภะ โทสะ และ โมหะ
ตามพระไตรปิฎก เราสามารถสร้าง “ บุญ ” ได้ถึง ๓ อย่าง คือ
๑ . ทาน คือ การให้ เช่นที่กล่าวมาแล้ว คือ การตักบาตร บริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน เป็นต้น ถือเป็น จาคะ หรือ การให้ นับเป็น บุญอย่างหนึ่ง แต่มีการให้บางประการที่ไม่นับเป็นบุญ เช่น สุรา มหรสพ ให้สิ่งเพื่อกามคุณ เป็นต้น
๒ . ศีล คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือรักษาความสำรวมทางกาย วาจา การรักษาศีลสำหรับฆราวาส ได้แก่ ศีล ๕ และอุโบสถศีล ( มี ๘ ข้อ )
๓ . ภาวนา ภาวนา คือ การอบรมจิต ทางสมถะและทางวิปัสสนา การนั่งสมาธิ เรียกว่า สมถะภาวนา ส่วนการนั่งวิปัสสนา ( สติรู้ถึงรูป – นาม ) เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา

ถ้าท่านต้องการทำบุญวันเกิดของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าจะไปทำบุญ หรือบริจาคได้ที่ไหนดี

 

การทำบุญวันเกิด

ทำบุญวันเกิด

 

ความเป็นมา
อัน ประเพณีที่จะ ทำบุญวันเกิด ขึ้นนี้เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นตัวอย่างตั้งแต่ยังทรงผนวช ไม่ใช่ทำอย่างจีนหรือฝรั่ง ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าการมีอายุยืนมาบรรจบรอบปีครั้งหนึ่งๆ ไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันประเสริฐ ควรยินดี เมื่อรู้สึกยินดีก็ควรจะบำเพ็ญกุศล ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น ให้สมกับที่มีน้ำใจยินดี และไม่ประมาท เพราะไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ถึงวันเกิดปีหนึ่งเป็นที่เตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปต่อความตายอีกก้าวหนึ่งชั้นหนึ่ง เมื่อรู้สึกเช่นนั้น จะได้บรรเทาความมัวเมาประมาทในชีวิตเสียได้ นี้เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นสาเหตุให้ มีการทำบุญวันเกิดขึ้นเรียกว่า เฉลิมพระชนมพรรษา

การที่ทรง ทำในครั้งนั้นปรากฏว่ามีการสวดมนต์เลี้ยงพระ ๑๐ รูป เป็นการน้อยๆ เงียบๆ ครั้นต่อมาก็มีเจ้านายขุนนางทำบุญวันเกิดกันชุกชุมขึ้น แต่การทำบุญเกี่ยวกับพระลดลง เป็นแค่ประชุมคนแสดงเกียรติยศให้ปรากฏว่ามีผู้นับถึอมาก ตั้งโรงครัวเลี้ยงกันไปวันยังค่ำการมหรสพก็มีละครเป็นพื้น และนำของขวัญไปให้กันมีการเลี้ยงดูกันอย่างสนุกสนานให้ศีลให้พรกัน ถ้าเป็นวันเกิดเจ้านายขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พระเจ้าแผ่นดินก็พระราชทานพระราชหัตถเลขาให้พรด้วย พระราชทานของขวัญด้วย สมัยนั้นการทำบุญถือเป็นเกียรติใหญ่ เมื่อถึงวันเกิดของใครก็อึงคนึงเป็นการใหญ่ตั้งแต่เริ่มงานจนงานแล้ว และถือว่าถ้าไม่ไปช่วยงานวันเกิดกันแล้วเป็นไม่ดูผีกันทีเดียว

สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณรก็ทรงทำบุญวันพระราชสมภพ ตามอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วิธีทำก็มี สวดมนต์ เลี้ยงพระและแจกสลากสิ่งของต่างๆ แก่พระสงฆ์ ทรงทำตลอดมาจนกระทั่งเสวยราชย์และทำเป็นการใหญ่เช่น หล่อพระพุทธรูปอายุ เรียกว่า “หล่อพระชนมพรรษา” ทั้งมีการตกแต่งตามชาลาพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นการครึกครื้นสนุกสนาน ตามริมน้ำและตามถนนก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีปโคมชวาลา จึงได้เกิดมีการแต่งซุ้มไฟประกวดประขันกันขึ้นและมีเหรียญพระราชทานแก่ผู้ แต่งซุ้มไฟเป็นรางวัล อนึ่งในวันนั้นได้มีผู้ไปลงนามถวายพระพร พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการอ่านคำถวายพระพรอันเป็นเครื่องหมายแสดงความจงรักภักดี จึงถือเป็นประเพณีเนื่องด้วยทำบุญวันเกิดมาจนปัจจุบันนี้

วิธีปฏิบัติในการทำบุญวันเกิด

วิธีปฏิบัติ ในการทำบุญวันเกิดอาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ ดังนี้

๑. ตักบาตรพระสงฆ์เท่าอายุหรือเกินอายุหรือกี่รูปก็ได้ตามสะดวก

๒. บำเพ็ญกุศลอุทิศแก่บรรพบุรุษ ที่เรียกว่า ทักษิณานุประทานก่อนแล้วจึงบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเกิด

๓. ทำบุญ สวดมนต์ เลี้ยงพระ หรือมีพระธรรมเทศนาด้วย

๔. ถวายสังฆทาน

๕. ทำทานช่วยชีวิตสัตว์ เช่นปล่อยนก ปล่อยปลา ฯลฯ หรือส่งเงินไปบำรุงโรงพยาบาลหรือกิจกรรมด้านสังคมสงเคราะห์อื่นๆ

๖. รักษาศีลหรือบำเพ็ญภาวนา

๗. กราบขอรับพรจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ

๘. บำเพ็ญคุณประโยชน์อื่นๆ โดยมุ่งที่การให้ มากกว่า เป็นการรับ

อานิสงส์หรือผลดีของการทำบุญวันเกิด

การ ทำบุญวันเกิด คือการปรารภวันเกิดและทำความดีในวันนั้นเป็นเหตุให้ได้รับผลดีหรืออานิสงส์ ตอบแทน ดังมีพุทธภาษิตความว่า “ผู้ให้อาหาร ชื่อว่า ให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่า ให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยาน ชื่อว่า ให้ความสุข ผู้ให้ประทีป ชื่อว่า ให้ดวงตา” (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๕ ข้อ ๑๓๘ หน้า ๔๔ ) และพระพุทธภาษิต ความว่า “ผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ ย่อมได้สิ่งที่น่าพอใจ ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศ ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมได้สิ่งที่ประเสริฐ ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐสุด ย่อมได้สิ่งที่ประเสริฐสุด “ (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๒ ข้อ ๔๔ หน้า ๖๖)

ข้อเสนอแนะในการทำบุญวันเกิด

๑. กิจกรรมในการทำบุญวันเกิดควรเน้นคุณค่าทางจิตใจมากกว่าวัตถุ เช่นทำจิตใจให้สงบแจ่มใสและทำบุญตามศรัทธา

๒. ควรเป็นกิจกรรมที่มุ่งบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือส่วนรวม เช่นการบริจาคทาน สมทบทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ ใช้แรงงานของตนเองเพื่อส่วนรวม

๓. ควรมุ่งเน้นให้เป็นการประหยัด จัดงานวันเกิดในวงครอบครัวไม่ควรจัดหรูหราฟุ่มเฟือย

๔. ควรอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ไม่จำเป็นต้องจัดแบบต่างประเทศ เช่นตัดเค้กวันเกิดจุดเทียน หรือเป่าเทียน ร้องเพลงภาษาต่างประเทศอวยพรวันเกิด ฯลฯ

๕. ในกรณีที่ผู้น้อยไปรดน้ำอวยพรวันเกิดผู้ใหญ่ นิยมอ้างคุณพระศรีรัตนตรัยก่อนแล้วจึงมีคำอวยพร ส่วนของขวัญที่จะให้นั้น ควรทำด้วยน้ำพักน้ำแรงหรือของที่ประดิษฐ์ด้วยฝีมือตนเอง ถ้าเป็นดอกไม้ควรเป็นดอกไม้ที่ปลูกในประเทศไทย กรณีที่ผู้ใหญ่อวยพรวันเกิดผู้น้อย ผุ้ใหญ่ควรกล่าวถ้อยคำอันเป็นมงคลแก่ผู้รับพร


ทำบุญอายุ

การ ทำบุญอายุ มักนิยมทำกัน เมื่ออายุ ๒๕ ปี ซึ่งเรียกว่าเบญจเพสแผลงมาจาก ปัญจวีสะ คำว่าเบญจเพส ก็แปลว่า ๒๕ นั่นเอง ถือกันว่าตอนนี้เป็นตอนสำคัญ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะย่างขึ้นสู่สภาวะผู้ใหญ่ ตั้งตนให้เป็นหลักเป็นฐาน ถ้าดีก็ดีกันในตอนนี้ ถ้าเอาดีไม่ได้ก็อาจจะเสียคน ด้วยเหตุนี้จึงมีการทำบุญเมื่ออายุ ๒๕ ปีเพื่อส่งให้เจริญงอกงามต่อไป ต่อจากนั้นก็ทำเมื่ออายุ ๕๐ หรือ ๖๐ ปีอีกครั้งหนึ่ง เพราะถือกันว่าตอนนิอายุย่างเข้ากึ่งหนึ่งของศตวรรษแล้ว และเจริญมากถึงที่สุดแล้ว ต่อไปร่างกายก็มีแต่จะทรุดโทรมลงทุกวัน การทำบุญที่อายุปูนนี้จึงเป็นการทำโดยไม่ประมาท ร่างกายเสื่อมลงไปๆ จึงควรทำบุญไว้ เพื่อเป็นประกันในเมื่อจวนจะหมดลมจะได้นึกว่าทำดีไว้มากแล้ว ถึงตายก็ตายอย่างสงบ อนึ่งการทำบุญอายุนี้ บางทีทำกันเมื่อมีอายุครบ ๒ รอบ ๓ รอบ ๔ รอบ ไปจนถึง ๕ -๖ รอบฯลฯ รอบหนึ่งมี ๑๒ ปีถ้าบรรจบปีเกิดในรอบไหนก็ทำในรอบนั้น วิธีปฏิบัติ อานิสงส์ผลดีหรือข้อเสนอแนะ เช่นเดียวกับการทำบุญวันเกิด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

 

ทดสอบ wp.me

test ทดสอบ url แบบ short

http://wp.me/pzOK1-4

สวัสดีชาวโลก – -‘

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!